เรื่องน่ารู้ พรบ.ป้าย

กฏหมายที่ผู้เป็นเจ้าของยี่ห้อเครื่องหมายการค้า หรือผู้ครอบครองป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าควรรู้
อ่านเพิ่มเติม
ป้ายดี ต้องทำอย่างไร

เรื่องน่ารู้ พรบ.ป้าย

กฏหมายที่ผู้เป็นเจ้าของยี่ห้อเครื่องหมายการค้า หรือผู้ครอบครองป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าควรรู้

พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510

ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2510 เป็นปีที่ 22 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแยกกฎหมายเกี่ยวกับภาษีป้ายออกจากประมวลรัษฎากร
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2511 เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิกหมวด 5 ภาษีป้ายในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร
บรรดาบทกฎหมาย กฎ และข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้แทน
มาตรา 4 เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เทศบาลใดอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทย
เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกาให้เทศบาลใดอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงมหาดไทยตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล บรรดาอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ กับให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้ายไม่เกินอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัตินี้ และกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้

ความรู้ภาษีป้าย

ผู้เป็นเจ้าของ หรือผู้ครอบครองป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้า หรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้ ควรรู้

1
ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน
ป้ายที่มีอักษรไทยล้วนให้คิดอัตรา 10 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
2
ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ
ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและหรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่นให้คิดอัตรา 100 บาท ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
3
ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 200 บาท
ป้ายดังต่อไปนี้ ให้คิดอัตรา 200 บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
(ก) ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่
(ข) ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
สอบถามข้อมูล
4
ป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) ซึ่งมีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมายหรือภาพอื่นได้
ป้ายตาม (1) (2) หรือ (3) ซึ่งมีข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพที่เคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนเป็นข้อความ เครื่องหมายหรือภาพอื่นได้ โดยเครื่องจักรกลหรือโดยวิธีใด ๆ ให้คิดอัตราภาษีตามจำนวนข้อความ เครื่องหมาย หรือภาพ หรือตามระยะเวลาที่ข้อความเครื่องหมาย หรือภาพปรากฏอยู่ในป้าย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้ายังไม่ได้ออกกฎกระทรวงให้คิดอัตราภาษีตามบัญชีอัตราภาษีป้ายนี้
5
ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขตามมาตรา 14 (3)
ป้ายที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขตามมาตรา 14 (3) ให้คิดอัตราตาม (1) (2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี และ ให้เสียเฉพาะจำนวนเงินภาษีที่เพิ่มขึ้น
6
พื้นที่ของป้ายไม่ว่าจะมีรูปร่างหรือลักษณะอย่างไร ให้คำนวณ ดังนี้
ป้ายต้องให้ได้ตัวอักษรในการโฆษณาที่ใหญ่ชัดเจน ไม่ต้องมีข้อความมาก เนื่องจากจะทำให้ตัวอักษรเล็ก
(ก) ถ้าเป็นป้ายที่มีขอบเขตกำหนดได้ให้เอาส่วนกว้างที่สุดคูณด้วยส่วนยาวที่สุดของขอบเขตป้ายเป็นตารางเซนติเมตร
(ข) ถ้าเป็นป้ายที่ไม่มีขอบเขตกำหนดได้ ให้ถือว่าตัวอักษรภาพ หรือเครื่องหมายที่อยู่ริมสุดเป็นขอบเขตสำหรับกำหนดส่วนกว้างที่สุดและยาวที่สุด แล้วคำนวณตาม(ก)
สอบถามข้อมูล
7
ป้ายตาม (1) (2) (3) หรือ (4) เมื่อคำนวณพื้นที่ของป้ายแล้ว
(ก) ถ้ามีเศษเกินกึ่งหนึ่งของห้าร้อยตารางเซนติเมตรให้นับเป็นห้าร้อยตารางเซนติเมตร ถ้าไม่เกินกึ่งหนึ่งให้ปัดทิ้ง
(ข) ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ 200 บาท ให้เสียภาษีป้ายละ 200 บาท
ขอใบเสนอราคา
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากภาษีป้ายเป็นภาษีของราชการบริหารส่วนท้องถิ่น ควรแยกออกจากประมวลรัษฎากรและมอบให้ราชการบริหารส่วนท้องถิ่น โดยกำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเทศบาลและสุขาภิบาล เป็นผู้จัดเก็บ จึงตรากฎหมายว่าด้วยภาษีป้ายขึ้นโดยเฉพาะ
พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534
มาตรา 19 ให้ยกเลิกบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 และให้ใช้บัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน กฎกระทรวงที่กำหนดอัตราภาษีป้ายตามบัญชีอัตราภาษีป้ายท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับแก่การเก็บภาษีป้าย ในปีถัดจากปีที่ประกาศกฎกระทรวงในราชกิจจานุเบกษา
พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534
มาตรา 20 บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 ที่ถูกยกเลิกหรือแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ยังคงใช้บังคับต่อไปเฉพาะในการปฏิบัติจัดเก็บภาษีที่ค้างอยู่หรือที่พึงชำระก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534
มาตรา 21 ความในมาตรา 7 วรรคสาม ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติภาษีป้าย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2534
หมายเหตุ :-
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ.2510 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว สมควรปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการยกเว้นภาษี การกำหนดอัตราภาษี การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การประเมินภาษี การชำระภาษี การบังคับชำระภาษีค้าง การคืนเงินค่าภาษี อัตราเงินเพิ่ม และการอุทธรณ์ ตลอดจนปรับปรุงบทกำหนดโทษ ให้สอดคล้องกับสภาพการณ์และสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันหรือให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

เริ่มต้นด้วย "ป้าย" ไอเดียเรา

ผลิตงาน คุณภาพ ราคามาตรฐาน ประสบการณ์กว่า 30 ปี
บริการติดตั้ง ทั่วประเทศ งานด่วน
@dr-ads
ที่ตั้ง
บริษัท ดี.อาร์.แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด
74/215 หมู่ 12 ถนนเพชรเกษม
ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน
จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย
74130
บริษัท ดี.อาร์.แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด
74/215 หมู่ 12 ถนนเพชรเกษม
ตำบลอ้อมน้อย อำเภอกระทุ่มแบน
จังหวัดสมุทรสาคร ประเทศไทย
74130
ติดต่อ
สายด่วน
:
089 989 9991
โทรศัพท์
:
0-2813-7768-9
แฟกซ์
:
0-2811-0514(auto)
เว็บไซต์
:
www.dr-ads.com
อีเมลล์
:
info@dr-ads.com
สายด่วน
:
089 989 9991
โทรศัพท์
:
0-2813-7768-9
แฟกซ์
:
0-2811-0514(auto)
เว็บไซต์
:
www.dr-ads.com
อีเมลล์
:
info@dr-ads.com
โซเชียล
ไลน์
:
dr-ads
เฟสบุ๊ค
:
d.r.signage
ยูทูป
:
dr-ads
ไอจี
:
dr-ads
ไลน์
:
dr-ads
เฟสบุ๊ค
:
d.r.signage
ยูทูป
:
dr-ads
ไอจี
:
dr-ads